[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 27 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ : ข่าวสารทั่วไป
เรื่อง : ดนตรี กีฬา วิเคราะห์การทำงาน
โดย : admin
เข้าชม : 7012
พฤหัสบดี ที่ 4 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2562
A- A A+
        

พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า ดนตรี กีฬา และงานอดิเรกที่เด็กๆ ชื่นชอบ เป็นเรื่องไร้สาระ จึงมุ่งเน้นให้เด็กเรียนหนังสือ ติดจรวดด้านวิชาการ แต่ปัจจุบัน ดนตรี กีฬา และงานอดิเรก ไม่ใช่เรื่องไร้สาระอีกต่อไป เมื่อมีผลงานวิจัยออกมาว่า “ดนตรี กีฬา งานอดิเรก สามารถใช้วิเคราะห์ทักษะความสามารถในการทำงาน” โดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ JOBTOPGUN และ SUPER Resume สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างทักษะที่ได้จากการเล่นดนตรี กีฬา งานอดิเรก กับทักษะความสามารถในการทำงาน ผลการวิจัยชี้ว่า ดนตรี กีฬา งานอดิเรก มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทักษะความสามารถในการทำงาน สูงถึง 90%

รศ.ดร.อรรณพ ตันละมัย คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การทำกิจกรรมต่างๆ เป็นการฝึกทักษะและความสามารถในการทำงานของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรี เล่นกีฬา หรือแม้แต่กิจกรรมอื่นๆ ล้วนแล้วแต่สร้างเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กทั้งสิ้น ทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของการทำงานเป็นทีม รู้แพ้รู้ชนะรู้จักรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการใช้ชีวิตไม่แพ้วิชาการ และการเรียนรู้ในปัจจุบันไม่ได้หยุดอยู่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป

“สมัยก่อนพ่อแม่ ผู้ปกครองส่วนหนึ่ง นิยมส่งลูกเรียนศิลปะ ดนตรี หนุนให้เล่นกีฬา เพราะเชื่อว่าการเล่นกีฬาจะทำให้ร่างกายแข็งแรง รู้จักการมีน้ำใจนักกีฬา ศิลปะทำให้เด็กมีจิตนการ เล่นดนตรีจะทำให้จิตใจไม่แข็งกร้าว ความเชื่อเหล่านี้ได้มีงานวิจัยรองรับและสนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ หรือใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อฝึกฝนขีดความสามารถด้านต่างๆของเด็ก” รศ.ดร.อรรณพ กล่าว

รศ.ดร.อรรณพ บอกว่า จากผลการวิจัยยังพบว่า ดนตรี กีฬา และงานอดิเรกแต่ละประเภทช่วยพัฒนาทักษะความสามรถของแต่ละคน เช่น คนเล่นเทนนิสจะเป็นคนทำงานเชิงรุก คนเล่นเรือใบเป็นคนกล้าตัดสินใจ และพร้อมรับมือกับทุกปัญหา คนชอบทำอาหารเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าที่จะลองผิดลองถูก คนเล่นหมากล้อม เป็นคนเก่งในเรื่องการวางแผน เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ทำให้เห็นทักษะและความสามารถได้ชัดเจนขึ้น และง่ายต่อการฝึกฝนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้มากขึ้น

ขณะที่ วิเชียร ชนาเทพาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ท็อปกัน จำกัด กล่าวว่า การคัดเลือกคนเข้าทำงาน ไม่ได้มองที่การศึกษาเพียงอย่างเดียว จะมองงานอดิเรกของผู้สมัครประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับงานมากที่สุด เพราะงานอดิเรกบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้สมัครได้ดี

“อย่างคนเล่นฟุตบอลต้องเริ่มจากเลี้ยงฟุตบอล ตามขั้นตอนของการฝึกฝน ทำให้รู้ว่าเป็นคนเช่นไร เป็นคนทำงานเป็นทีมได้ดี เป็นคนที่ชอบคิดวางแผน เป็นคนสุขุมเยือกเย็น หรือเป็นคนที่ชอบแข่งขัน สิ่งเหล่านี้สะท้อนออกมาในงานอดิเรกที่ทำทั้งสิ้น ซึ่งคนหนึ่งคนย่อมมีงานอดิเรกที่มากกว่าหนึ่งอย่าง และมีระดับความสามารถในงานอดิเรกไม่เท่ากัน ทำให้ขีดความสามารถในการทำงานของคนเราไม่เท่ากันด้วยเช่นกัน” วิเชียร กล่าว

ในเมื่อดนตรี กีฬา และงานอดิเรก บอกขีดความสามารถของการทำงาน จึงเหมาะที่จะนำไปเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก นักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้มีความสามารถรอบด้านที่ไม่ได้มีความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องขึ้นอยู่กับความชอบและสมัครใจของเด็กด้วย ไม่ใช่บังคับให้เด็กทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ เล่นในสิ่งที่ไม่อยากเล่น นอกจากนี้ ยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากวิจัยชิ้นนี้ไปพัฒนากระบวนการคัดสรรบุคลากรให้ตรงกับสายงาน หรืออาจจะนำความรู้นี้ไปพัฒนาและฝึกฝนบุคลากรภายในองค์กรเพื่อเพิ่มทักษะ ความสามารถในการทำงานได้

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต





3 stars เฉลี่ย : 3 จาก 3 ครั้ง.

ข่าวสารทั่วไป5 อันดับล่าสุด

      ดนตรี กีฬา วิเคราะห์การทำงาน 4/ก.ค./2562
      รณรงค์สวมหมวกนิรภัย100% 4/ก.ค./2562





ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ nayonghosp@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป